Health

  • โรคหัวใจมีอาการอย่างไรบ้าง

    โรคหัวใจ เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนไทย เนื่องจากคนมีพฤติกรรมเสี่ยงกันมากขึ้น ทั้งการรับประทานอาหาร การไม่ดูแลสุขภาพร่างกาย แต่บางคนอาจจะยังไม่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคหัวใจ เพราะอาการบางอย่างอาจจะคล้ายคลึงกับหลายโรค ดังนั้นเราจึงควรมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับอาการ รวมถึงการป้องกัน เพื่อสำรวจตัวเองว่ามีความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจหรือไม่นั่นเอง

    อาการที่บ่งบอกว่าเป็นโรคหัวใจมีดังนี้
    เจ็บแน่นบริเวณหน้าอกข้างซ้าย หรือทั้งสองด้าน บางรายอาจมีอาการเจ็บร้าวไปถึงแขนซ้าย หรือแขนทั้งสองข้าง
    มักมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเวลาเคลื่อนไหวร่างกายที่ต้องใช้กำลังมาก หรือขณะออกกำลังกาย เช่น การเดินขึ้นบันได โดยอาการดังกล่าวจะดีขึ้นหลังหยุดออกกำลัง
    รู้สึกหอบ หรือเหนื่อยง่ายมากกว่าปกติ ใจสั่น ใจเต้นเร็วผิดปกติ รู้สึกบ้านหมุน หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม สายตาพร่าเบลอ โดยอาการจะเกิดขึ้นเพียงชั่วขณะหนึ่งแล้วจะหายไปเอง
    ขาบวม เพราะหัวใจด้านขวาทำงานลดลง เลือดจึงไหลจากขาไปที่หัวใจได้ไม่สะดวกจนทำให้เกิดเลือดค้างอยู่บริเวณขานั่นเอง

    โรคหัวใจ

    ประเภทของโรคหัวใจที่สำคัญ
    โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของการทำงานของหลอดเลือดหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุด
    โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นภาวะที่กระแสไฟฟ้าในหัวใจไม่สามารถผ่านทั่วหัวใจได้อย่างปกติทำให้หัวใจเต้นเร็ว หรือช้ากว่าปกติ บางรายอาจมีอาการแต่ไม่เป็นอันตราย
    โรคกล้ามเนื้อหัวใจ มี 3 ชนิด ได้แก่ โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา โรคกล้ามเนื้อหัวใจถูกบีบรัด
    โรคลิ้นหัวใจ เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่มีขนาดผิดปกติ หรือทำงานเสื่อมสภาพลง

    สาเหตุของโรคหัวใจ
    ในกลุ่มของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจมักจะเกิดจากสาเหตุการมีก้อนไขมัน หรือมีก้อนลิ่มเลือดไปอุดตันบริเวณหลอดเลือดแดงในหัวใจที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อวัยวะต่าง ๆ ได้รับเลือดไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นต้น นอกจากนี้โรคหัวใจอาจเกิดจากสาเหตุการติดเชื้อ หรือได้รับสารพิษบางอย่าง รวมไปถึงการได้รับถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรม เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา เป็นต้น

    ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ
    อายุ ผู้ที่มีอายุมากขึ้น อวัยวะภายในร่างกายต่าง ๆ จะมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลงจึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดแดงหัวใจตีบ
    กรรมพันธุ์ โรคหัวใจบางชนิดสามารถถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมได้ ดังนั้นหากมีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหัวใจอาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้อีกด้วย
    พฤติกรรมในการใช้ชีวิต เช่น การสูบบุหรี่ สารพิษในบุหรี่จะมีผลทำให้หลอดเลือดหัวใจเกิดความผิดปกติ การรับประทานอาหารที่ประกอบไปด้วยไขมัน เกลือ น้ำตาล หรืออาหารที่มีคอเลสเตอรอล สูง และการไม่ออกกำลังกายเป็นปัจจัยเสี่ยงอีกประการหนึ่งที่สามารถนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจ
    ความเครียด มีผลต่อหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ คือ ทำให้เกิดความผิดปกติของระบบประสาทซิมพาเทติก โดยจะเร่งให้เกิดการทำลายชั้นเซลล์ของผนังหลอดเลือดแดง นอกจากนี้ความเครียดฉับพลันยังมีผลอย่างมากต่อเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจซึ่งจะทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะอีกด้วย

    ดูแลสุขภาพอย่างไรให้ห่างไกลโรคหัวใจ
    ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในร่างกายได้
    หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
    นอนพักผ่อนให้เพียงพอ และรู้จักการจัดการความเครียด ควรหากิจกรรมที่ชื่นชอบ หรือผ่อนคลายความเครียดได้
    ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
    หลีกเลี่ยงอาหารรสหวาน มัน เค็ม เกินไป ควรรับประทานอาหารที่มีไขมันน้อย เช่น ผัก ปลา ผลไม้ และอาหารที่มีกากใย
    ตรวจเช็กสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หากมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก ใจสั่น ควรปรึกษาแพทย์ทันที

    การออกกำลังกายสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ หรือผู้ที่มีความเสี่ยง
    แม้ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจจะไม่สามารถออกแรงหนัก ๆ ได้ แต่การออกกำลังกายบางท่าสามารถทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงหัวใจได้ดี ซึ่งเป็นผลดีสำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจ โดยวิธีการออกกำลังกายมีดังนี้

    การเดินเร็ว เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีอายุมาก เพราะเป็นการออกกำลังกายที่ไม่ใช้แรงจนเกินไป
    แอโรบิก ทำให้ได้รับออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้ดีขึ้น และมีการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงยังอวัยวะอื่นได้ดีขึ้นด้วย
    การวิ่ง ช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจได้ออกแรงมากขึ้น ลดความเครียด และช่วยให้กล้ามเนื้อต่าง ๆ ทำงานได้ดีขึ้นด้วย
    การว่ายน้ำ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง และเกิดความยืดหยุ่นได้ดี
    การเล่นเทนนิส กล้ามเนื้อมีการเคลื่อนไหวอย่างเต็มที่จึงทำให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้ดีขึ้น

    โรคหัวใจเป็นโรคที่สามารถสังเกตอาการได้ด้วยตนเอง หากพบว่าตนเองมีอาการ หรือมีความเสี่ยงเข้าข่ายเป็นโรคหัวใจควรรีบเข้าพบแพทย์ หรือตรวจร่างกายเพื่อวินิจฉัยโรค และทำการรักษาต่อไป

    ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่ profantasy-football.com

Economy

  • บัตรคนจน 6 ปีใช้งบ 3.3 แสนล้าน ปี 66
    บัตรคนจน 6 ปีใช้งบ 3.3 แสนล้าน ปี 66

    บัตรคนจน 6 ปีใช้งบ 3.3 แสนล้าน ปี 66 รับสิทธิ 14.59 ล้านคน เช็กรายชื่อ 1 มี.ค.

    นายกฯ เผย ครม.อนุมัติบัตรสวัสดิการแห่งรัฐรอบใหม่แล้ว รวมบัตรคนจน 6 ปี ใช้งบ 333,229.6 ล้านบาท เริ่มเช็กรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติ 14.59 ล้านคน มี.ค.ย้ำต้องไปยืนยันตัวตนด้วยตัวเอง และเริ่มใช้สิทธิ 1 เม.ย. เดือนละ 300 บาทต่อคน รวมค่าน้ำ–ค่าไฟอื่นๆ เพิ่มเบ็ดเสร็จ 1,545 บาทต่อคน

    พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม แถลงภายหลังเป็นประธานประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าที่ประชุมมีการพิจารณาหลายวาระสำคัญด้วยกัน รวมทั้งหมด 40 กว่าเรื่อง ส่วนใหญ่เป็นเรื่องต้องดูแลประชาชน และที่สำคัญวันนี้มีการพิจารณาอนุมัติบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งหลายคนอนุมัติไปแล้ว หลายคนมีปัญหายังไม่ได้ โดยจะเริ่มใช้วันที่ 1 เม.ย.ยืนยันว่าจะดูแลประชาชนของเราให้ดีที่สุด แม้จะเป็นช่วงปลายรัฐบาล

    นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐปี 2565 หรือบัตรคนจน โดยได้มีการอนุมัติงบกลางเพิ่มเติม 9,140 ล้านบาทเพื่อให้เพียงพอกับจำนวนผู้รับสิทธิ 14.59 ล้านคน

    และจะประกาศรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติรับสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐในวันที่ 1 มี.ค.2566 ผู้ที่ลงทะเบียนบัตรคนจนไว้ สามารถตรวจสอบรายชื่อตนเองได้ที่เว็บไซต์ https://บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ.mof.go.th หรือ https://welfare.mof.go.th ตั้งแต่เวลา 06.00-23.00 น. ของทุกวัน หรือที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานคลังจังหวัดทั่วประเทศ ที่ว่าการอำเภอทั่วประเทศ สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร 50 เขต และศาลาว่าการเมืองพัทยา

    “เมื่อตรวจสอบรายชื่อแล้วพบว่าเป็นผู้มีสิทธิรับสวัสดิการแห่งรัฐ จะต้องเดินทางไปยืนยันตัวตนด้วยตัวเองที่ 3 ธนาคารเท่านั้น คือ ธ.ก.ส., ออมสิน, กรุงไทย ต้องนำบัตรประจำตัวประชาชนติดตัวไปด้วย เนื่องจากสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐจากนี้ไปจะใช้บัตรประจำตัวประชาชนเท่านั้น โดยจะเชื่อมข้อมูลไปยังบัญชีธนาคารใดก็ได้ที่ผูกกับระบบพร้อมเพย์ เพื่อโอนเงินให้ทุกเดือน”

     

    ทั้งนี้ การยืนยันตัวตนสามารถทยอยยืนยันได้ โดยแบ่งเป็น 5 รอบ

    บัตรคนจน 6 ปีใช้งบ 3.3 แสนล้าน ปี 66 รับสิทธิ 14.59 ล้านคน เช็กรายชื่อ 1 มี.ค.
    ขอบคุณรูปภาพจาก : thairath.co.th

    รอบที่ 1 วันที่ 1 มี.ค.- 26 มี.ค.66 จะได้เริ่มใช้สิทธิวันที่ 1 เม.ย.66, รอบที่ 2 ยืนยันตัวตน วันที่ 27 มี.ค.-26 เม.ย.66 เริ่มใช้สิทธิวันที่ 1 พ.ค.66, รอบ 3 ยืนยันตัวตนระหว่าง 27 เม.ย.-26 พ.ค.66 เริ่มใช้สิทธิ 1 มิ.ย.66, รอบที่ 4 ยืนยันตัวตนระหว่างวันที่ 27 พ.ค.-26 มิ.ย.66

    เริ่มใช้สิทธิ 1 ก.ค.66 และรอบที่ 5 ยืนยันตัวตนตั้งแต่ 27 มิ.ย.66 เป็นต้นไป และเริ่มใช้สิทธิ 1 ส.ค.66 โดยผู้ที่ยืนยันรอบ 2-4 จะได้รับสิทธิย้อนหลังได้ไม่เกิน 3 เดือน นับจากเดือนแรกที่เริ่มใช้สิทธิได้ โดยสิทธิย้อนหลังจะให้เฉพาะวงเงินการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคจากร้านธงฟ้าราคาประหยัด ส่วนผู้ที่ยืนยันตัวตนรอบที่ 5 จะไม่ได้รับสิทธิย้อนหลัง

    นายอาคม กล่าวว่า สำหรับสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐรอบใหม่นี้ ทุกคนจะได้สิทธิเท่าเทียมกัน เริ่มจากเงินเดือนคนละ 300 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคจากร้านธงฟ้า จากเดิมแบ่งตามรายได้ คือ ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี ได้รับ 300 บาท

    แต่ถ้าเกิน 30,000-100,000 บาท ได้ 200 บาท ส่วนลดการซื้อก๊าซหุงต้มเดือนละ 80 บาทเป็นเวลา 3 เดือน จากเดิม 45 บาท และค่าใช้จ่ายการเดินทาง 750 บาท ใช้รถโดยสารสาธารณะ 8 ประเภท

    ส่วนค่าน้ำประปา 100 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน หากเกิน 100 บาท ผู้ใช้น้ำต้องจ่ายส่วนที่เกิน และค่าไฟฟ้า 315 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน หากใช้เกินกว่าที่กำหนดผู้ถือบัตรจะต้องจ่ายเอง โดยค่าน้ำและค่าไฟ กระทรวงการคลัง จะเป็นผู้ชำระให้เอง โดยจะเชื่อมข้อมูลไปยังการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน). การประปานครหลวง (กปน.) การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.)

    ทำให้รวมสิทธิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐรอบนี้จะได้เงินช่วยเหลือจากรัฐ 1,545 บาทต่อคนต่อเดือน ส่วนผู้พิการที่ถือบัตรคนจนจะได้รับเงินช่วยเหลือจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) อีกคนละ 200 บาทต่อเดือน โดยผู้พิการต้องมายืนยันตัวตนพร้อมกับผูกบัญชีพร้อมเพย์เท่านั้น หากเป็นผู้พิการติดเตียง ต้องมีหนังสือยินยอมและมอบอำนาจ โดยมีพยานเป็นผู้ใหญ่บ้านและกำนันในพื้นที่นั้นๆ

    ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ตั้งแต่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ในปี 61 จนถึงการอนุมัติล่าสุดปี 66 รวม 6 ปี รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณทั้งสิ้น 333,229.6 ล้านบาท แบ่งเป็น ปี 61 ใช้งบประมาณ 43,614.5 ล้านบาท ผู้รับสิทธิ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 14.2 ล้านคน ปี 62 งบประมาณ 93,155.4 ล้านบาท รับสิทธิ์ 14.6 ล้านคน ปี 63 งบประมาณ 47,843.5 ล้านบาทรับสิทธิ์ 13.9 ล้านคน ปี 64 งบประมาณ 48,216 ล้านบาท รับสิทธิ์ 13.5 ล้านคน ปี 65 งบประมาณ 34,986.4 ล้านบาท รับสิทธิ์ 13.2 ล้านคน ปี 66 งบประมาณ 65,413.80 ล้านบาท รับสิทธิ์ 14.59 ล้านคน.

    ขอบคุณแหล่งที่มา : thairath.co.th

    สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : profantasy-football.com